กายภาพบำบัดรักษาอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเข่า คลินิกกายภาพบำบัด The sPhysiotherapy and pain center บริการให้การตรวจรักษาอาการปวดต่างๆ เช่นปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเข่า หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดร่วมกับอาการชาตามมือหรือเท้า ออฟฟิศซินโดรม ฯลฯ ด้วยนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ทางคลินิก โดยมีจุดเด่นในการใช้ Manual therapy treatment ซึ่งพบว่าสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดได้ดียิ่งขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัด หากท่านต้องการได้รับคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัด สามารถติดต่อได้ทุกช่องทางของเรา Extracorporeal Shockwave Therapy
คลื่นกระแทกที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไปยังเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีการอักเสบหรือบาดเจ็บ เกิดการกระตุ้นบริเวณที่บาดเจ็บทำให้เร่งการซ่อมแซมบริเวณดังกล่าว กระตุ้นให้เนื้อเยื่อหลั่งสารลดการอักเสบ ลดอาการปวด และรักษาฟื้นฟูเนื้อเยื่อ มักใช้ในภาวะกลุ่มของโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก (Musculoskeletal Disorder) ได้แก่ ภาวะเอ็นอักเสบต่าง ๆ (Tendinitis) บริเวณ ข้อศอก, ข้อเข่า, พังผืดอักเสบ เช่น รองช้ำ, กล้ามเนื้อตึงจมยึด, หินปูนเกาะเอ็น ในบางครั้งมีการนำมาใช้ในกระดูกที่ติดไม่ดี หรือกระดูกขาดเลือด เรามักจะหลีกเลี่ยงการใช้ ESWT ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่มีไข้ไม่สบายอยู่ หรือโรคของกล้ามเนื้อกระดูกที่เป็นโรคจากปัญหาภาวะภูมิคุ้มกันต่าง ๆ (Rheumatological Disease) บริเวณที่รักษาไม่ควรมีอาการชา การรับรู้ความรู้สึกลดลง (Neuropathy) หรือมีความไวต่อความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น (Hypersensitivity) หรือ มีแผลเปิด การรักษาโดย ESWT อาจต้องทำต่อเนื่องหลายครั้งจึงจะดีผลดี ขึ้นกับอาการ และการวินิจฉัยในแง่ของระยะห่างในการรักษาแต่ละครั้งอาจจะอยู่ในช่วง5-10วัน นอกจากนี้ ที่สำคัญคือESWTเป็นเพียงการรักษาเบื้องต้นเมื่อปวดลดลงแล้ว ควรรักษาสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนั้น ๆ เช่น เอ็นกล้ามเนื้อตึง หรือ ไม่แข็งแรง ต้องทำท่าบริหารออกกำลังกาย กายภาพบำบัดต่าง ๆ ให้ฟื้นฟูกลับมา ข้อดี ของการรักษาโดย ESWT เป็นการใช้คลื่นกระแทกทำให้ร่างกายเกิดการกระตุ้นการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ (Tissue repair) ด้วยตนเอง ไม่ได้เกิดจากสารภายนอก ข้อเสีย คือ ขณะที่ทำการรักษาจะมีอาการบาดเจ็บตรงตำแหน่งที่มีการอักเสบ หรือบาดเจ็บ เพื่อให้เกิดการรักษาตัวบริเวณนั้น แต่สามารถปรับพลังงานขณะยิง ให้เหมาะสม ให้อาการเจ็บอยู่ในระดับที่ทนได้ |
High Power Laser therapy
หลักการที่สำคัญของเลเซอร์ในการรักษาโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกคือ Photomechanical & biostimulation นั่นคือ การใช้พลังงานจากแสงเลเซอร์ (photon) ผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเอ็นชั้นต่าง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเซลล์ ขึ้นกับการปรับพลังงานเลเซอร์ที่ใช้ ได้แก่ เลเซอร์มีผลจากตัวลำแสงเอง (photomechanical effect) ทำให้เกิดการกระตุ้นปลายประสาท (free nerve ending) เกิดการยับยั้งกระบวนการปวดโดย gait control mechanism และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนของเลือดและระบบน้ำเหลือง (microcirculation stimulation) จึงมีผลในการลดอาการปวด บวม และอักเสบ เลเซอร์มีผลของความร้อน (thermal effect) ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilatation) นำเลือดและ oxygen มาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการกำจัดของเสีย (metabolite) และ proinflammatory mediator ต่าง ๆ จึงช่วยลดการอักเสบ การบวม รวมถึงทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเนื้อเยื่อต่าง ๆ มากขึ้นจึงช่วยลดการตึง ทำให้กล้ามเนื้อเอ็นผ่อนคลาย (muscle relaxation) ที่สำคัญเลเซอร์ยังมีจุดเด่นในเรื่อง biostimulation effects หรือ promote healing & recovery โดยกลไกการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากกระตุ้นการขนส่ง oxygen ไปยัง mitochondria ภายในเซลล์ที่รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ที่รวดเร็วขึ้น มากขึ้น เลเซอร์สามารถใช้ในการรักษาภาวะที่เกี่ยวข้องกับ การอักเสบ หรือบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก ทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง ได้แก่ -Tendinitis or tenosynovitis เช่น rotator cuff syndrome, lateral epicondylitis, patellar tendinitis ช่วยลดปวดในระยะเฉียบพลันได้ดี -Osteoarthritis, bursitis, synovitis -Trauma และ sports injury ต่าง ๆ -อาการปวดและชาที่เกิดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) การกดทับเส้นประสาท เช่น radiculopathy, sciatica, carpal tunnel syndrome -ลดอาการบวมจากการอักเสบ -รักษาแผลเปิด เช่น แผลเบาหวาน แผลกดทับ -ลดอาการตึงของแผล หรือ อาการตึงของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ เช่น frozen shoulder, Muscle & tendon tightness -Myofascial pain ช่วยลดอาการปวดและตึงที่เกิดจากกล้ามเนื้อตึงหรือจมยึด (trigger point) ได้อีกด้วย -ลดอาการระบม จากการรักษาอื่น ๆ เช่น คลื่นกระแทก (Extracorporeal shockwave therapy), การฝังเข็มคลายจุด (Dry needling) การรักษาด้วย laser สามารถทำได้ทุกวันในกรณีที่เป็นการรักษาเพื่อลดปวดเฉียบพลัน และแพทย์อาจพิจารณาเว้นวันทำการรักษาในกรณีที่ต้องการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ แต่สามารถทำได้ถึง 3–5 ครั้งต่อสัปดาห์ การรักษาอาจทำได้ตั้งแต่ 3–15 ครั้ง แล้วแต่โรคและภาวะที่เป็นอยู่ตอนนั้น การรักษาโดยเลเซอร์ลดปวด เป็นการรักษาที่ขณะทำการรักษาไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้เป็นทางเลือกในการรักษาเบื้องต้นสำหรับหลายๆ ภาวะ หลังทำการรักษามักสบายขึ้น แต่หากเป็นการบาดเจ็บหรืออักเสบที่มาก ผลการลดปวดอาจอยู่ได้ไม่นาน มักต้องมาทำซ้ำต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น การใช้เลเซอร์ประกอบกันกับการรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดอื่น ๆ ได้แก่ Extracorporeal Shockwave Therapy, Magnetic Stimulation, Cold compression ให้เหมาะสมกับโรคและระยะโรค จะทำให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด |
LINE Add